โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) หมายถึง คือโรคที่ร่างกายมีความไวต่อสารบางอย่างในธรรมชาติ หรือสภาพแวดล้อมรอบๆตัว ซึ่งสารเหล่านี้สามารถก่อให้อาการแพ้ หรือภูมิแพ้(Allergen) กับร่างกาย เราเรียกสาร หรือ สิ่งกระตุ้น ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือภูมิแพ้(Allergen) ว่า “สารก่อภูมิแพ้ (Allergens)” ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก หรือโดยการฉีดหรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง ซึ่งสาร หรือ สิ่งกระตุ้น ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือภูมิแพ้(Allergen) มีอยู่รอบตัวเราในธรรมชาติ และสามารถกระตุ้นอวัยวะต่างๆ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) จัดว่าเป็นโรคเรื้อรังและจัดว่าเป็นโรคกรรมพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อ แม่ไปสู่ลูกหลานได้เช่นเดียวกับโรคทางกรรมพันธ์ชนิดอื่นๆ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ เป็นต้น
คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) นี้ร่างกายจะมีความไวต่อสารที่เป็นตัวกระตุ้นในสภาพแวดล้อมที่เข้าสู่ร่างกาย หรือที่ร่างกายได้สัมผัส เมื่อสารเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น ซึ่งก็แล้วแต่ว่า จะเกิดกับอวัยวะใด ในบางรายอาจมีอาการแพ้อย่างรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากได้รับสารแพ้ภายในเวลาไม่เกินครึ่งชั่งโมง อาการแพ้อย่างรุ่นแรงที่มักพบได้แก่ อาการแน่นหน้า อกความดันโลหิตต่ำ และอาจเสียชีวิตได้ สาเหตุเป็นได้ทั้งจากแพ้อาหาร เช่นในบางรายที่แพ้กุ้ง ปู แพ้ยา แพ้เกสรดอกไม้ แพ้แมลงต่างๆ เป็นต้น
-เพศ ช่วงอายุที่สามารถเกิดโรคภูมิแพ้ได้
โรคภูมิแพ้สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กอายุตั้งแต่ 5 - 15 ปี มักพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับ “สิ่งกระตุ้น” มานานเพียงพอ อย่างไรก็ตามบางคนอาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ในตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้
-สารก่อภูมิแพ้ที่พบทั่วๆไปในธรรมชาติ
อย่างที่กล่าวแล้วว่า “สารก่อภูมิแพ้ (Allergens)” หรือ สิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือภูมิแพ้(Allergen) นั้นมีอยู่ตามธรรมชาติรอบตัวเรา สารก่อภูมิแพ้ที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่
-สารก่อภูมิแพ้ที่พบทั่วๆไปในธรรมชาติ
อย่างที่กล่าวแล้วว่า “สารก่อภูมิแพ้ (Allergens)” หรือ สิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือภูมิแพ้(Allergen) นั้นมีอยู่ตามธรรมชาติรอบตัวเรา สารก่อภูมิแพ้ที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่
1.1 ฝุ่นและตัวไรฝุ่นในบ้าน
ปกติแล้วฝุ่นที่ก่อให้เกิดภูมแพ้ได้ มักจะปะปนอยู่ในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 มม. มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และตัวไรฝุ่นที่อยู่ในเครื่องหนอนภายในบ้าน เช่น ผ้าปูที่นอน หมอน เป็นต้น (อ่าน ภูมิแพ้จากไรฝุ่น )
ปกติแล้วฝุ่นที่ก่อให้เกิดภูมแพ้ได้ มักจะปะปนอยู่ในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 มม. มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และตัวไรฝุ่นที่อยู่ในเครื่องหนอนภายในบ้าน เช่น ผ้าปูที่นอน หมอน เป็นต้น (อ่าน ภูมิแพ้จากไรฝุ่น )
1.2 เชื้อรา
มักปะปนอยู่ในบรรยากาศ ตามห้องที่มีลักษณะอับชื้น
มักปะปนอยู่ในบรรยากาศ ตามห้องที่มีลักษณะอับชื้น
1.3 เกสรดอกหญ้า เกสรดอกไม้ ตอกข้าว วัชพืช
เกสรดอกหญ้า เกสรดอกไม้ มักมีปนอยู่ในอากาศอยู่แล้ว ซึ่งอาจถูกกระแสลมพัดมาจากที่ต่างๆ ดั้งนั้นโอกาสที่จะสัมผัสจึงมีสูง หรืออาจเป็นลักษณะขุยๆ ติดตามมุ้งลวดหน้าต่าง เกสรดอกหญ้าที่ปลิวมาตามสายลม
เกสรดอกหญ้า เกสรดอกไม้ มักมีปนอยู่ในอากาศอยู่แล้ว ซึ่งอาจถูกกระแสลมพัดมาจากที่ต่างๆ ดั้งนั้นโอกาสที่จะสัมผัสจึงมีสูง หรืออาจเป็นลักษณะขุยๆ ติดตามมุ้งลวดหน้าต่าง เกสรดอกหญ้าที่ปลิวมาตามสายลม
1.4 ขนสัตว์
ขนของสัตว์เลี้ยงเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ เช่น ขนแมว ขนสุนัข ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ ขนกระต่าย ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ เป็นต้น
ขนของสัตว์เลี้ยงเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ เช่น ขนแมว ขนสุนัข ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ ขนกระต่าย ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ เป็นต้น
1.5 นุ่น ฟองน้ำ ยางพารา ใยมะพร้าวที่ใช้ยัดที่นอนและหมอน เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานานก็จะสามารถเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้เช่นกัน
1.6 อาหารบางประเภท
อาหารบางอย่างจะเป็นตัวการของโรคภูมิแพ้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวก อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา แมงดาทะเล ปลาหมึก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันได้ ซึ่งบางคนอาจมีอาการแพ้อย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้มีอาการบวมตามตัว หายใจไม่ออก เป็นต้น
อาหารบางอย่างจะเป็นตัวการของโรคภูมิแพ้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวก อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา แมงดาทะเล ปลาหมึก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันได้ ซึ่งบางคนอาจมีอาการแพ้อย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้มีอาการบวมตามตัว หายใจไม่ออก เป็นต้น
1.7 อาหารประเภทหมักดอง เช่น ผักกาดดอง เต้าเจี้ยว เป็นต้น
1.8 ผลไม้จำพวกที่มีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นฉุนจัด เช่น ทุเรียน ลำใย สตรอเบอรี่ กล้วยหอม และอื่นๆ เป็นต้น
1.9 ยาแก้อักเสบ
ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อยๆ นั้นได้แก่ ยาปฎิชีวนะ พวกเพนนิซฺลิน เตตราไวคลิน นอกจากนั้นยังมีพวกซัลฟา ยาลดไข้ ยาแก้ปวดพวกแอสไพริน ไดไพโรน ยาระงับปวดข้อปวดกระดูก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคัน เป็นต้น
ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อยๆ นั้นได้แก่ ยาปฎิชีวนะ พวกเพนนิซฺลิน เตตราไวคลิน นอกจากนั้นยังมีพวกซัลฟา ยาลดไข้ ยาแก้ปวดพวกแอสไพริน ไดไพโรน ยาระงับปวดข้อปวดกระดูก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคัน เป็นต้น
1.10 แมลงต่างๆ
แมลงที่มักอาศัยอยู่ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ แมงมุม มด ยุง ปลวก และแมลงที่อาศัยอยู่นอกบ้าน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ มดนานาชนิด เป็นต้น
แมลงที่มักอาศัยอยู่ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ แมงมุม มด ยุง ปลวก และแมลงที่อาศัยอยู่นอกบ้าน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ มดนานาชนิด เป็นต้น
-โรคที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มโรคภูมิแพ้
โรคที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มโรคภูมิแพ้ ได้แก่
1.โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ
อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คันในจมูก จามติดกันหลายๆครั้ง น้ำมูกใสๆ ไหลมาก คัดแน่นจมูก อาการอื่นๆ เช่น หูอื้อ ปวดมึนศีรษะ น้ำมูกไหลลงคอ เสมหะติดในคอ
อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คันในจมูก จามติดกันหลายๆครั้ง น้ำมูกใสๆ ไหลมาก คัดแน่นจมูก อาการอื่นๆ เช่น หูอื้อ ปวดมึนศีรษะ น้ำมูกไหลลงคอ เสมหะติดในคอ
2.โรคหืด ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบ แน่นหน้าอก หายใจเสียงวี้ด อาจเป็นตอนออกกำลังกาย ตอนกลางคืน หรือตอนเป็นหวัดก็ได้
3.ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นผื่นคัน แห้งแดง และเรื้อรัง พบบ่อยบริเวณหน้า ข้อพับแขนขา
4.ลมพิษ ผื่นนูน บวม คัน ตามผิวหนังส่วนต่างๆ บางรายอาจมีอาการบวมบริเวณหน้าตาหรือปากด้วย
5.ผื่นแพ้ผิวหนังจากการสัมผัส เป็นผื่นคันจากการสัมผัสสารแพ้ต่างๆ เช่นผงซักฟอก ยาย้อมผม เครื่องสำอาง ถุงมือ โลหะ เป็นต้น
6.แพ้อาหาร มีอาการได้หลายระบบ ทั้งระบบผิวหนัง (ผื่นลมพิษ)ระบบหายใจ (คัดจมูก น้ำมูกไหล หอบ) ระบบทางเดินอาหาร (อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย) อาหารที่เป็นสาเหตุได้บ่อย คือ นมวัว ไข่ อาหารทะเล ถั่วลิสง
7.เยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้ มีอาการแสบตา คันตา ตาแดง น้ำตาไหล ขยี้ตาบ่อย เปลือกตาบวม
-รู้ได้อย่างไรว่าเป็นภูมิแพ้ **
** ขอบคุณข้อมูลจาก คลินิก หู คอ จมูกและราลิงซ์ รพ.วิภาวดี
** ขอบคุณข้อมูลจาก คลินิก หู คอ จมูกและราลิงซ์ รพ.วิภาวดี
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นภูมิแพ้ เมื่อมีอาการและอาการแสดงดังข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อซักประวัติ และตรวจร่างกาย นอกจากนั้นแพทย์อาจทำการตรวจอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การทดสอบสมรรถภาพปอด ในรายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหืด การทดสอบทางผิวหนัง เพื่อให้ทราบถึงสารที่ผู้ป่วยแพ้ ซึ่งทราบผลภายใน 15 นาที หรือการตรวจดูเซลล์ของเยื่อบุจมูกในกรณีของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เมื่อไหร่? ควรจะไปพบแพทย์ ควรปรึกษา และพบแพทย์ เมื่อมีอาการต่อไปนี้
• น้ำมูกไหล คัดจมูก จาม คันจมูกเรื้อรัง
• ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
• ไอมากหรือเหนื่อยเวลาเป็นหวัด ตอนออกกำลังกาย หรือตอนกลางคืน
• ผื่นคันเรื้อรังตามผิวหนังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
• เป็นลมพิษบ่อย
• สัมผัสสารบางอย่างแล้วผื่นขึ้น
• กินอาหารบางชนิดแล้วมีผื่น น้ำมูกไหล หรือแน่นหน้าอก
• คันตา แสบตา น้ำตาไหลเรื้อรัง
• ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
• ไอมากหรือเหนื่อยเวลาเป็นหวัด ตอนออกกำลังกาย หรือตอนกลางคืน
• ผื่นคันเรื้อรังตามผิวหนังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
• เป็นลมพิษบ่อย
• สัมผัสสารบางอย่างแล้วผื่นขึ้น
• กินอาหารบางชนิดแล้วมีผื่น น้ำมูกไหล หรือแน่นหน้าอก
• คันตา แสบตา น้ำตาไหลเรื้อรัง
แนวทางการรักษาโรคภูมิแพ้
1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เป็นวิธีที่สำคัญที่สุด และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
2. การรักษาด้วยยา มีทั้งยากิน ยาพ่นจมูก ยาพ่นปอด ยาหยอดตา ยาทาผิวหนัง ซึ่งควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
3. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ โดยการฉีดสารสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ และค่อยๆ เพิ่มปริมาณ จนผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่อสารนั้นซึ่งต้องรับการฉีดอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลา 3-5 ปี จึงจะได้ผลดี
2. การรักษาด้วยยา มีทั้งยากิน ยาพ่นจมูก ยาพ่นปอด ยาหยอดตา ยาทาผิวหนัง ซึ่งควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
3. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ โดยการฉีดสารสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ และค่อยๆ เพิ่มปริมาณ จนผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่อสารนั้นซึ่งต้องรับการฉีดอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลา 3-5 ปี จึงจะได้ผลดี
ปฎิบัติตนอย่างไร …..เมื่อเป็นโรคภูมิแพ้
1.ในห้องนอน ควรมีเครื่องตกแต่งห้องน้อยชิ้นที่สุด
หมั่นทำความสะอาด และกำจัดฝุ่นละอองเป็นประจำ
2.ในกรณีแพ้ไรฝุ่น ควรทำความสะอาดเครื่องนอน (ที่นอน,หมอน,ผ้าห่ม) โดยซักด้วย น้ำร้อน 600C นาน 15-20 นาที อย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์
3.ไม่ใช้พรม เก้าอี้เบาะหุ้มผ้า หมอนนุ่น ตุ๊กตาที่ทำจากนุ่น หรือขนสัตว์
4.ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก
5.กำจัดเศษอาหาร และขยะต่างๆ รวมทั้งปิดฝาท่อระบายน้ำเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงสาบ
6.ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ และใช้แบบที่มีเครื่องกรองอากาศชนิด HEPA filter
7.ระวังไม่ให้บ้าน ห้องน้ำ อับชื้น และไม่ควรปลูกต้นไม้ในบ้านเพราะทำให้เชื้อราเติบโต
8.อย่าไปใกล้บริเวณที่มีควันบุหรี่ ควันไฟ และบริเวณที่มีฝุ่นมาก
9.ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หากมีอาการหอบเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย ควรสูดยา ป้องกันอาการหอบก่อน
10.ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง เพราะบางชนิดถ้าใช้ต่อเนื่องนานอาจมีอันตรายได้
มีวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้อีกประการหนึ่งที่เป็นการรักษาได้ผลดีพอสมควร ได้แก่การหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ให้พบแล้วนำสารก่อภูมิแพ้ที่ตรวจพบนี้นำมาผลิตวัคซีนให้ผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานสารที่แพ้ (อิมมูโนบำบัด) คือ รักษาให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานสารที่แพ้ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การรักษาเพื่อ ลดภูมิไว คือให้ร่างกายลดความไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรค
หมั่นทำความสะอาด และกำจัดฝุ่นละอองเป็นประจำ
2.ในกรณีแพ้ไรฝุ่น ควรทำความสะอาดเครื่องนอน (ที่นอน,หมอน,ผ้าห่ม) โดยซักด้วย น้ำร้อน 600C นาน 15-20 นาที อย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์
3.ไม่ใช้พรม เก้าอี้เบาะหุ้มผ้า หมอนนุ่น ตุ๊กตาที่ทำจากนุ่น หรือขนสัตว์
4.ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก
5.กำจัดเศษอาหาร และขยะต่างๆ รวมทั้งปิดฝาท่อระบายน้ำเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงสาบ
6.ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ และใช้แบบที่มีเครื่องกรองอากาศชนิด HEPA filter
7.ระวังไม่ให้บ้าน ห้องน้ำ อับชื้น และไม่ควรปลูกต้นไม้ในบ้านเพราะทำให้เชื้อราเติบโต
8.อย่าไปใกล้บริเวณที่มีควันบุหรี่ ควันไฟ และบริเวณที่มีฝุ่นมาก
9.ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หากมีอาการหอบเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย ควรสูดยา ป้องกันอาการหอบก่อน
10.ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง เพราะบางชนิดถ้าใช้ต่อเนื่องนานอาจมีอันตรายได้
มีวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้อีกประการหนึ่งที่เป็นการรักษาได้ผลดีพอสมควร ได้แก่การหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ให้พบแล้วนำสารก่อภูมิแพ้ที่ตรวจพบนี้นำมาผลิตวัคซีนให้ผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานสารที่แพ้ (อิมมูโนบำบัด) คือ รักษาให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานสารที่แพ้ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การรักษาเพื่อ ลดภูมิไว คือให้ร่างกายลดความไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรค
ที่มา:www.health-protect.com